วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เพราะเหตุใด?เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง


เพราะเหตุใด??? เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง

         หนังสือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สามารถให้ความรู้ได้หลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาและด้านความรู้รอบตัวที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ล้วนแต่เป็นความรู้ที่มาจากการอ่านหนังสือทั้งนั้น แต่คนในปัจจุบันไม่ได้ให้ความสำคัญกับหนังสือ เนื่องจากมีสื่อและสิ่งเร้าต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมากขึ้นพบว่าเด็กไทยอ่านหนังสือลดลงเกือบทุกวัน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความเป็นอยู่ การศึกษาและค่านิยมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันอีกด้วย ในขณะเดียวกันการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสังคมนั้นไม่ได้มาจากการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่หากจะมีสื่อชนิดอื่นที่มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นมาในสังคมอีกมากมาย เช่น อินเตอร์เน็ต อีเมล์ มือถือคอมพิวเตอร์แบบพกพา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และความสามารถสืบค้นหาความรู้จากสื่อนั้นได้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านวิชาการ บันเทิง หรือประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ทุกคนมีช่องทางในการค้นหาความรู้มากขึ้นเป็นผลให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงและหันมาศึกษาหาความรู้จากด้านอื่นมากขึ้น เพราะมีความสะดวกสบาย และประหยัดเวลา นอกจากนี้การที่เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงยังเป็นผลมาจากการที่ถูกสิ่งต่างๆ ที่น่าดึงดูดและน่าสนใจกว่า เช่น โลกอินเตอร์เน็ตต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อคนในปัจจุบันมาก เนื่องจากการมีค่านิยมที่ผิดๆ คือ การที่คิดว่าการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ล้าสมัยรวมไปถึงการใช้เวลาว่างที่ไม่ถูกต้องในทุกทุกวัน  (นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย)  
            สาเหตุที่เด็กไทยใช้เวลาว่างอ่านหนังสือน้อยลงเกิดจากการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เบียดบังเวลาอ่านหนังสือ ในแต่ละวันเด็กไทยใช้เวลาดูโทรทัศน์วันละ 3-6 ชั่วโมง เล่นเกมวันละ 1-2 ชั่วโมง และพูดคุยโทรศัพท์ แชทผ่านทางมือถือวันละ 2-4 ชั่วโมง ซึ่งการใช้โทรศัพท์เป็นภัยคุกคามการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในด้านการอ่านหนังสือและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นแนวทางการส่งเสริมให้เด็กหันมาอ่านหนังสือมากขึ้น ก็จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อช่วงชิงเวลาการคุยโทรศัพท์เปลี่ยนมาอ่านหนังสือให้ได้ ถ้าไม่เร่งแก้ปัญหานี้ก็จะยิ่งทำให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลเสียต่อตนเองและสังคมไทยในปัจจุบัน การที่มีสิ่งเร้าทำให้เด็กไทยทั่วทุกภาคของประเทศอ่านหนังสือลดลง และมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ หาไม่ได้รับการแก้ไขอาจจะทำให้เด็กไม่มีนิสัยรักการอ่าน หากเปรียบเทียบกับกราฟตัวอย่างพบว่า เด็กเขตกรุงเทพมหานครยังมีนิสัยรักการอ่านเพราะมีการแข่งขันกันสูง แต่ที่น่าห่วงคือนอกเขตในจังหวัดอื่นแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางที่มีแนวโน้มการอ่านหนังสือลดลงเพราะอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการที่ทำให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ เช่น ไม่มีการแข่งขันกันสูง พ่อและแม่ไม่มีเวลาสอนหนังสือ การที่เด็กอ่านหนังสือแค่วันละ 27-29 นาที เป็นการอ่านหนังสือที่ใช้เวลาน้อยมาก และเป็นเรื่องที่น่าตกใจ เด็กส่วนใหญ่ชอบใช้เวลาว่างในการเล่นเกม เล่นอินเตอร์เน็ต คุยโทรศัพท์ ไม่สนใจที่จะทบทวนบทเรียนหรืออ่านหนังสือ และในกลุ่มวัยทำงานก็มักจะไม่อ่านหนังสือหรืออ่านเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับงานของตนเท่านั้น สภาพปัญหาเช่นนี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบการศึกษาในประเทศไทยยังไม่สามารถทำให้ผลผลิตของการศึกษากลายเป็นผลผลิตที่มองเห็นความจำเป็นของการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ เด็กไม่ฉลาดชาติก็ไม่เจริญ

      -------------------------------------------------------------------------------------
2.) จากการสำรวจการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี) และการอ่านนอกเวลาเรียนของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ปี พ.. 2551
2.1) อัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนจากผลการสำรวจ พบว่า เด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 36.0 เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านหนังสือใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 36.7 และร้อยละ 35.2ตามลำดับ) แต่อัตราการอ่านหนังสือของเด็กเล็กมีความแตกต่างกันระหว่างเขตการปกครองและภาค โดยในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล เด็กเล็กในกรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด (ร้อยละ 45.3) ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด (ร้อยละ 31.3)
  ตารางจำนวนและอัตราการอ่านหนังสือของเด็กเล็กนอกเวลาเรียนจำแนกตามเพศ เขตการปกครอง และภาค .. 2551

เพศ เขตการปกครอง และภาค

จำนวนเด็กเล็ก (คน)

อัตราการอ่านหนังสือ
รวม
อ่านหนังสือ

ทั่วราชอาณาจักร
5,868,961
2,110,440
36.0
ชาย 
3,026,431
1,110,184
36.7
หญิง
2,842,531
1,000,256
35.2
ในเขตเทศบาล
1,662,381
677,559
40.8
นอกเขตเทศบาล
4,206,581
1,432,881
34.1
กรุงเทพมหานคร
511,576
231,955
45.3
กลาง
1,367,749
442,534
32.4
เหนือ
892,174
383,233
43.0
ตะวันออกเฉียงเหนือ
2,125,432
665,108
31.3
ใต้
972,031
387,610
39.9


























             ----------------------------------------------------------------------------------------

2.2) ความถี่ของการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนเด็กเล็กที่อ่านหนังสือมีทั้งสิ้น 2.1 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อ่านหนังสือสัปดาห์ละ 2 – 3 วันมากที่สุด (ร้อยละ 39.6) รองลงมาคือ อ่านทุกวันและอ่านสัปดาห์ละ 4 – 6 วัน ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 18.5และ 17.3 ตามลำดับ) และพบว่า มีเด็กเล็กที่อ่านหนังสือแต่อ่านนาน ๆ ครั้งอยู่ ร้อยละ 14.9
      แผนภูมิร้อยละของเด็กเล็กที่อ่านหนังสือนอกเวลาเรียน จำแนกตามความถี่ของการอ่านหนังสือ พ.. 2551


      -----------------------------------------------------------------------------------------------

2.3) การอ่านหนังสือของประชากร อัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน นอกเวลาทำงานจากผลการสำรวจปี 2551 พบว่า คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 66.3ผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย (ร้อยละ67.5 และ 65.1 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมา พบว่า อัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.2 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 69.1 ในปี 2548 และลดลงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 66.3 ในปี 2551
  แผนภูมิอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน นอกเวลาทำงานของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศ .. 2546 – 2551



-------------------------------------------------------------------------

2.4) การอ่านหนังสือของประชากรอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน นอกเวลาทำงานจากผลการสำรวจปี 2551 พบว่า คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จำนวนประมาณ 60.3 ล้านคน เป็นผู้ที่อ่านหนังสือจำนวน 40.0 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 66.3 ผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้หญิงเล็กน้อย (ร้อยละ 67.5 และ 65.1ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาอัตราการอ่านหนังสือตามเขตการปกครองและภาค พบว่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล(ร้อยละ 77.7 และ 61.2 ตามลำดับ) กรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงที่สุดร้อยละ 85.8 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุดร้อยละ 58.2
     แผนภูมิอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน นอกเวลาทำงานของประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตามเขตการปกครองและภาค พ.. 2551

             -------------------------------------------------------------------------------------

2.5) เวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่านหนังสือนอกเวลาเรียนเด็กเล็กที่อ่านหนังสือ ใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนเฉลี่ย 27 นาทีต่อวัน เด็กชายและเด็กหญิงใช้เวลาอ่านหนังสือ เฉลี่ยในแต่ละวันใกล้เคียงกัน(28 นาที และ 27 นาทีตามลำดับ) เมื่อพิจารณาตามพื้นที่อยู่อาศัย พบว่า เด็กเล็กที่อาศัยในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลใช้เวลาอ่านหนังสือฯ เฉลี่ยในแต่ละวันใกล้เคียงกันเช่นกัน (29 นาที และ 27 นาทีตามลำดับ) เด็กเล็กที่อาศัยอยู่ภาคใต้ใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยสูงสุด คือ 30 นาทีต่อวัน แต่เด็กเล็กที่อาศัยอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยต่ำสุ(26 นาทีต่อวัน) และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ
   แผนภูมิเวลาที่ใช้อ่านหนังสือนอกเวลาเรียนเฉลี่ยต่อวันของเด็กเล็ก จำแนกตามเพศ เขตการปกครอง และภาค .. 2551


------------------------------------------------------------------------------------------

2.6) การทำงานจากจำนวนประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 51.6 ล้านคน พบว่า มีผู้อ่านหนังสือจำนวน32.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 63.7 และเมื่อจำแนกตามการทำงานในรอบปีที่แล้ว พบว่า อัตราการอ่านหนังสือของผู้ทำงานสูงกว่าผู้ไม่ทำงานเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ 64.1และ 62.2 ตามลำดับ) โดยผู้ชายมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าผู้หญิง 
ทั้งในกลุ่มผู้ทำงานและกลุ่มผู้ไม่ทำงาน
     แผนภูมิอัตราการอ่านหนังสือของประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำแนกตามการทำงานในรอบปีที่แล้ว พ.. 2551


----------------------------------------------------------------------------------------------


อ้างอิง










4 ความคิดเห็น: